Tag: หนังสือสำหรับเด็ก

หนังสือสำหรับเด็กเพื่อสร้างพัฒนาการที่ดี

หนังสือสำหรับเด็ก

เด็กเล็กเป็นวัยที่อยู่ในช่วงที่อยากรู้อยากเห็น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวของเด็กเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และเด็กช่วง 1-3 ปีแรกเป็นช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตมากที่สุด ดังนั้นหากมีการเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว เด็กจะมีพัฒนาการทั้งด้านสมองและอารมณ์ที่สมบูรณ์ มีจินตนาการที่กว้างไกล เรียนรู้ได้ไวและจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งสิ่งที่ช่วยเสริมพัฒนาการให้เด็กคือหนังสือและของเล่น โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงหนังสือที่ช่วยเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กในช่วง 5 ปีแรกว่ามีลักษณะอย่างไร

1.เข้าใจง่าย

            เด็กในช่วงวัยนี้ยังมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ไม่มากนัก ดังนั้นหนังสือที่นำมาอ่านให้เด็กฟังควรมีเนื้อเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องแปลความหมายของเรื่องหรือคำที่ใช้ในเนื้อหาอีกครั้งถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะหากมีเนื้อหาเกี่ยงข้องกับสิ่งของใกล้ตัวจะทำให้เด็กสามารถจินตนาการและนึกภาพออกได้ง่าย ทำเด็กมีความสุขกับการได้รับฟัง

2.สีสันสวยงาม

            หนังสือสำหรับเด็กควรมีภาพประกอบและมีสีสันที่สดใสสวยงาม เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กและสีสันยังช่วยกระตุ้นการสร้างคลื่นสมองให้เกิดมากขึ้นด้วย เนื่องจากสีสันที่เด็กมองเห็นจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยประสาทและสารสื่อที่อยู่ภายในสมองให้มีมากขึ้น ทำให้เมื่อเด็กโตขึ้นจะสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

3.ไม่ยาวเกินไป

            เนื้อหาของตัวเรื่องควรมีความยาวไม่เกิน 1-2 นาทีในการอ่านให้เด็กฟัง เพราะว่าเด็กในวัยนี้มีความอดทนในการอยู่นิ่งได้ไม่นาน เพราะหากเนื้อหาของเรื่องมีความยาวมากเกินไปจะทำให้เด็กรู้สึกเบื่อและไม่อยากที่จะฟังเรื่องราวในหนังสือที่อ่านให้ฟัง ดังนั้นการเดินเรื่องของหนังสือควรกระชับและสนุกสนาน เพื่อให้เด็กได้รับรู้เรื่องราวอย่างครบถ้วนในระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นจินตนาการของเด็กตามเรื่องราวในหนังสือ

            การเลือกหนังสือสำหรับเด็กวัย 5 ปีขึ้นไปเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองหรือพ่อแม่ควรใส่ใจ เพราะว่าการอ่านหนังสือให้เด็กฟังนอกจากที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้มีการสร้างเส้นใยและสารสื่อประสาทที่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านสมองและจิตใจแล้ว การอ่านหนังสือให้บุตรหลานฟังยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในครอบครัวอีกด้วย เพราะการอ่านหนังสือเด็กไม่สามารถอ่านเองได้ ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจะต้องเป็นคนอ่านให้ฟัง จึงถือว่าเป็นเวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ของครอบครัวให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น